จะรู้ได้ยังไงว่า ChatGPT ช่วยอะไรเราได้

learning
Published 2024-04-27
POST

#เดฟคนหนึ่งจะรู้ได้ไงว่ามันทำอะไรได้ หลังจาก ChatGPT 4 ออกมาได้ครบปีแล้ว 🎉 ได้เห็นการนำไปประยุกต์มากมาย 🌟 มีทั้งที่เห็นได้ตรงๆ และอยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่จู่ๆเราจะรู้เองได้ยังไงละ 🤔 ว่ามันทำอะไรได้บ้าง ❓ วันนี้เลยมาแชร์แนวคิดที่เราใช้ค้นหาศักยภาพของมันกัน 🔍💡

เริ่มกันที่ สมมุติว่า เราเป็นคนแรกๆ ที่ได้ลองเล่น ChatGPT 4 ถามอะไรมันไป ก็ดูตอบได้หมด เราจะรู้ได้ยังไงว่า สิ่งที่ดูจะทำได้ทุกอย่าง ทำอะไรได้ดี อะไรไม่ดี ณ ตอนนั้น ยังไม่มีใครมาแชร์ว่า ต้องถามมันอย่างงั้น อย่างงี้นะ โจทย์แนวนี้ ต้องถามแพทเทิร์นนี้นะ

เอาละ ถ้าเป็นเรา จะเริ่มประมาณนี้ มาลองไล่ไปพร้อมกัน

img-hRymhvO36HX2CJ9SXvrKFhzn.png

  1. ลองเล่นให้เต็มที่

ไม่ใช่ว่าลองอะไรก็ได้นะ เบื้องต้นก็ควรลองตามวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างก่อน ในเคสนี้ เป็น ai แชทถามตอบ ที่เครมว่ารู้เยอะมาก ดังนั้นเราก็ควรลองถามคำถามมันดู แต่ให้ดีเพื่อจะวัดความสามารถมันได้ เราก็ควรเริ่มจากหัวข้อที่เราถนัดก่อน อย่างเช่น เราชอบเที่ยวแบบ backpacking เวลาวางแผนทริปก็ต้องเช็ครายละเอียดแบบเดินทางไปยังไง รถไฟ หรือรถเมย์ไปถึงไหม ช่วงเวลาที่อยากไปเปิดไหม ไปถูกฤดูเปล่า มีที่พักไหม คร่าวๆ ดังนั้นไหนๆแล้ว อยากไปญี่ปุ่นเดือน 6 ซัก 3-4 วัน ไปแนว adventure หน่อย จะมีให้เที่ยวไหมนะ

ดังนั้น ก็ลองถาม ChatGPT เลย พร้อมกับเสริช google หาเองด้วย สิ่งที่แน่นอนเลย ยังไม่ทันเปิดเว็ปแรก ChatGPT ก็ตอบแล้ว แต่ถูกต้องไหมเดี๋ยวว่ากัน

เริ่มจากฝั่งเสริช google ก่อน เวลาเรามีทริปที่ไม่ค่อยมีใครไปกัน ข้อมูลตามแต่ละเว็ป ก็จะแบบ ตอบคำถามเราซัก 30-40% ของคำถามเรา ดังนั้นเราก็ต้องเช็คหลายๆ เว็ปหน่อยเพื่อรวบรวมให้ได้ครบ 100% อย่างที่อยากรู้ แล้วเสริชเพิ่มเติมอีกหน่อย เพื่อตรวจทานข้อมูลของเรา

กลับกัน ฝั่ง ChatGPT ได้คำตอบเลยในครั้งเดี๋ยว อาจจะถามเข้าทางมันพอดี แต่เรามาคุยกันต่อว่าตอบได้ แต่ตอบถูกไหม ซึ่งก็แอบตกใจไม่น้อย เขียนแผนมาให้สวยงาม เรียบเรียงมาให้ Day 1 ไปไหน Day 2 ไปไหน ไม่พอลองตรวจเอาสถานที่ไปเสริชดู มันคิดเผื่อให้อีก สถานที่ในแต่ละวันต้องไม่ไกลกันมาก เดินทางไหว กลายเป็นว่า พอเราให้ ChatGPT มาช่วย เราก็ประหยัดเวลาไปได้เยอะ เราสามารถข้ามขั้นตอน ไปตรวจทานได้เลย อย่างบางสถานที่ในปีนี้ก็อาจจะไม่ได้เปิด อยู่ๆ เชื่อ 100% คงได้ยื่นเหวอหน้างาน

พอเริ่มเห็นว่ามันสรุปคำตอบได้เก่ง เราก็อาจจะเริ่มลองถามหัวข้อที่ยากขึ้นอีก หรือหัวข้อที่เราอยากรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน แล้วลองดูคำถามมันดู ลองให้เต็มที่ แล้วเราจะเริ่มจับภาพได้ว่า มันเก่งแนวไหน

60c031cb-18e8-4f47-8612-8afd52dd4bef.jpg

  1. เข้าใจที่มา

พอเราเห็นแล้วว่า ChatGPT สามารถเอาข้อมูลสามารถนำข้อมูลมหาศาลมาตอบคำถามและเรียบเรียงเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่ได้มีอยู่ในโลกออนไลน์แบบตรงๆ

เพื่อให้เข้าใจการทำงานของมันได้ เบื้องต้นเราก็ลองหาที่มาที่ไปของมัน อย่างเช่น การที่เขาตั้งชื่อ ChatGPT มันมาจากไหน ลองสับย่อยคำดู ก็จะเป็น Chat + GPT คำแรกน่าจะรู้ความหมายอยู่แล้ว ว่าใช้คุยถามตอบ แต่คำหลัง GPT คืออะไร เช็คไวๆ ก็จะเจอว่ามันย่อมาจาก Generative Pre-trained Transformers เราก็ลองเช็คความหมายทีละคำ ซึ่งคำเหล่านี้ไม่ใช่คำศัพท์ใหม่เอี่ยม แต่มีอยู่ในวงการ AI อยู่แล้ว

คำสำคัญอยู่ที่ Transformers ที่แสดงถึงการทำงานของ ChatGPT คือรับข้อความ แปลงเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ แล้วแปลงกลับเป็นข้อความที่คนเข้าใจ โดยใช้ความรู้จากการฝึกด้วยข้อมูลมหาศาลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่รับเข้ามา ผ่านการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ

ถึงจุดนี้เราก็พอจะรู้มากขึ้นแล้ว อาจจะพอเพียงเท่านี้ 😊 ไม่ก็ลองหาเปเปอร์ที่เข้าตีพิมพ์ไว้ เพื่อเข้าใจเชิงลึกต่อ 📜

e2efe090-8020-4b7f-a13f-649b353dd6f3.jpg

  1. ตกผลึกความรู้

เมื่อเราเข้าใจวิธีการทำงานของ ChatGPT แล้ว เราจะสังเกตเห็นว่ามันมีความรู้มหาศาลและความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แต่ความรู้ของมันจะถูกจำกัดอยู่ที่ข้อมูล ณ เวลาที่ถูกฝึก ยกตัวอย่างเช่น เคสวางแผนเที่ยว ChatGPT จะทราบว่าสถานที่ท่องเที่ยวในแผนเปิดให้บริการแน่นอน ณ ตอนที่มันถูกฝึก แต่มันจะไม่ทราบสถานะปัจจุบันของสถานที่เหล่านั้น

ดังนั้น หากต้องการให้ ChatGPT มีข้อมูลที่ทันสมัย เราจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ 🛠️ เช่น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่มันในขณะที่ถาม หรือบอกให้มันวางแผนใหม่โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้น

bd26207f-28c4-43cb-bacc-d5506b0f080f.jpg

  1. ต่อยอด

😊 พอเรารู้ว่า ChatGPT ทำอะไรได้ รู้ที่มาแล้ว และได้ตกผลึกความเข้าใจ เราก็ควรต่อยอดความรู้นั้น เราควรลองเอา ChatGPT ไปใช้ให้สุดกว่านี้ในชีวิตประจำวัน และแล้วท้าทายโดยทำให้คนอื่นใช้ได้ด้วย

🧪 เราต้องลองสร้างอะไรซักอย่างมาพิสูจน์ เพื่อจะได้รู้ว่า ChatGPT รับ load ได้แค่ไหน และราคาเป็นอย่างไร แต่การเอาไปให้ใครใช้ก็ได้นั้น เราต้องมานั่งสอนให้เขาเขียน Prompt หรือข้อความในการถาม ChatGPT ให้เป็น ซึ่งอาจจะทำให้คนเข้าถึงยาก

💻 เราอาจจะเปลี่ยนเป็นมาเขียนเว็ปไซด์แทน ยกตัวอย่างจากในหัวข้อแรก เราสามารถสร้างเว็ปวางแผนท่องเที่ยว 🌴 โดยรับคำถามตามที่กำหนดไว้ เช่น อยากเที่ยวแถวไหน อยากเที่ยวแนวไหน อยากไปกี่วัน และระหว่างทริปอยากเดินทางยังไง แล้วเราก็เอาคำถามเหล่านี้ไปประกอบร่างเป็นข้อความไปถาม ChatGPT แล้วนำคำตอบมาแสดงผลให้สวยงาม อาจจะหารูปประกอบมาใส่ให้ด้วย คนเที่ยวจะได้เห็นภาพแผนการเที่ยวครบจบในที่เดียว 🗺️

ตอนเราทำโปรเจคพวกนี้ เราจะเจอปัญหาระหว่างทางที่รออยู่ เช่น เราจะทำยังไงให้เว็ปเราส่งคำถามไปให้ ChatGPT ได้ ซึ่งเราต้องหาช่องทาง คือ API 🔌 นอกจากนี้ เราอาจจะเจอผู้ใช้งานที่ถามคำถามรัวๆ ทำให้เราขาดทุนได้ 📉 เราจึงต้องศึกษาเรื่อง limit rate และถ้าจู่ๆ ทุกคนหันมาใช้เว็ปเราวางแผน เราก็ต้องไปศึกษาเรื่อง scaling อีกด้วย 📈

2d500572-9376-4823-97f5-f7a797719d9c.jpg

สุดท้ายนี้ เมื่อเรามีแนวคิดแบบนี้ 💡 เราจะสามารถนำเทรนการใช้งาน ChatGPT ได้บ้าง และยังได้เรียนรู้สกิลอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย 📚 ซึ่งจะช่วยเสริมความสามารถของเราให้ดียิ่งขึ้น 💪

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเนื้อหาแนวนี้ 😊 มาแชร์กันได้ในคอมเมนต์เลยนะ 📝

เขียนโดย 🐹

เรียบเรียงโดย 🐹 & 🤖

4ee98dd3-e90a-41f6-9a49-79fa9f20ff73.jpg